Review/บทความดีดี ของ งานก่อสร้าง

ผลงานก่อสร้างโครงการ ที่ผ่านมาของบริษัท 














ทำอย่างไรไม่ให้ผู้รับเหมาโกง







กลัวผู้รับเหมาโกงไหม ? 

                  เมื่อพูดถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง หลายๆๆท่านคงจะสายหน้าหนี !!!  เพราะเคยเจอหรือมีประสบณ์การที่แย่ๆ เกี่ยวกับผู้รับเหมาก่อสร้างมา แต่อย่างไรก็ตามอีกมุมหนึ่งในวงการผู้รับเหมาก่อสร้างยังมีผู้รับเหมาดีๆๆ อยู่มากถึงแม้ว่าบางครั้งงานที่ทำงานอาจะเกิดความผิดพลาดจาก เหตุใดๆก็ตาม   ทำให้งานขาดทุน แต่เพื่อความซื่อสัตย์และมั่นคงในวิชาชีพ ผู้รับเหมาเหล่านั้นก็สามารถ ดำเนินงานจนแล้วเสร็จเป็นที่พอใจแก่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการก็มี

และในอีกแง่มุมที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างโดนเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการโกง หรือโดนเอารัดเอาเปรียบก็มีให้เห็นอยู่มาก 

ซึ่งตอนนี้ต่างคนต่างก็กลัวที่จะเสียเปรียบ ซึ่งกันและกัน

                        วันนี้ ทีมงาน  "ทีริช ดอทคอม" จะมาให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ที่คิดจะจ้างผู้รับเหมา  ว่าทำอย่างไรจะให้เกิดความเสี่ยงที่จะโดนโกงและไม่เอาเปรียบผู้รับเหมาจนเกินไป

1.) หาข้อมูลทั่วไปของผู้รับเหมา เช่น บ้านหรือสำนักงานอยู่ไหนมีแหล่งที่อยู่ชัดเจนใหม มีสถานที่ มีตัวตนจริง ถ้าเป็นไปได้ก็ลองไปคุยหรือทำสัญญาที่บ้านหรือสำนักงานของผู้รับเหมา  สักครั้งหนึ่ง   เหตุผล เพราะว่า อย่างน้อยเราผู้รับเหมาที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และถ้าเกิดมีปัญหาในภายหลัง เราก็ติดตามแจ้งความดำเนินคดีได้ ข้อแรกถ้าทำได้ก็ สามารถ ตัดสินใจได้ 50 เปอร์เซ็นแล้ว

2.) เบอร์โทรศัพท์ ในการติดต่อ  ถ้าเป็นผู้รับเหมามีเบอร์ 02 หรือเบอร์ สำนักงานหรือเบอร์บ้าน มีความน่าชื่อถือ เพราะว่า สถานที่นั้นๆ ได้จดทะเบียนจากองค์การโทรศัพท์มีความชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง 

2.)  ตัวสัญญา ต้องระบุให้ชัดเจนว่า อะไรรวม   อะไรไม่รวม   อะไรผู้รับเหมารับผิดชอบ  อะไรที่เจ้าของบ้านรับผิดชอบ  สัญญาต้องระบุวันเริ่มและแล้วเสร็จลงในสัญญา ถ้าจะให้ดีต้องมีรายการงาน ( BOQ ) ว่าทำอะไรบ้าง กี่หน่วย หน่วยละเท่าไหร่    เหตุผลเพราะว่า ถ้ามีงานเพิ่ม-ลด แล้วจะต้องไม่มาทะเลาะกันเรื่องของเราต่อหน่วย

3.) อย่าเอาราคาก่อสร้างถูกที่สุด  เป็นที่ตั้งในการตัดสินใจจ้าง ผู้รับเหมา เพราะผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาด นั้น ส่วนใหญ่ทำงานไม่จบ เพราะขาดทุน หรือแอบลดเสปก วัสดุก่อสร้างลง หรือทำงานออกมาไม่ได้คุณภาพ 
                 
               แต่ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นก็ไม่สามารถตัดสินการทำงานของผู้รับเหมาได้ 100 เปอร์เซ็น



ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)
จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม
 สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่
 ก่อนได้รับอนุญาตจาก ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์
 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์
และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
.......................................................................................................................



ฐานรากแผ่& ฐานรากเสาเข็ม    ใช้แบบไหนดี ?



         มีลูกค้าถามมาโดยตลอดว่า ต่อเติมบ้าน / ทำบ้านใหม่ จะใช้ ฐานรากแผ่หรือเสาเข็มดี  ก็เลยต้องซักถามกันซะยืดยาวเลย      การที่จะเลือกใช้ฐานรากแบบไหนนั้น ตามหลักการแล้วนั้นต้องทำการเจาะสำรวจดิน หรือวิเคราะห์ข้อมูลดินว่าดินที่ก่อสร้างเป็นแบบไหน ดินเหนียว หรือทราย หรือดินดาน  แต่ถ้าเป็นงานต่อเติมเล็กไม่ได้มีการเจาะสำรวจดินก็วิเคราะห์เคร่าๆก็ได้    จากนั้นก็มาดูน้ำหนักที่ลงตอม่อหรือฐานรากว่ามีมากน้อยแค่ไหน และต้องคำนึงการทำงานที่ยาก ง่ายด้วย ทางที่ดีที่สุดต้องปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง เรามาดูฐานรากทีละชนิดกัน ว่ามีแบบไหนบ้าง


ฐานรากแผ่ หรือฐานรากวางบนดิน   ( Shallow Foundation)





1. การพิจารณาเลือกใช้ฐานรากชนิดแผ่

1.1 ชั้นดินที่ก่อสร้างสามารถรับน้ำหนักบรรทุกของอาคารได้ หากชั้นดินสามารถรับน้ำหนักบรรทุกที่กระทำได้ต่ำ ก็ควรใช้ฐานรากที่มีเสาเข็มดีกว่าเพราะการดำเนินก่อสร้างง่ายกว่าและประหยัดกว่า

1.2 ถ้าเป็นอาคารที่มีน้ำหนักบรรทุกไม่มากนักหรือบ้านพักอาศัย หากพบว่าดินที่ใช้ก่อสร้างเป็นดินทราย สามารถใช้เครื่องสั่นสะเทือนกระแทกให้ดินที่จะวางฐานรากแน่นเสียก่อน จะสามารถใช้ฐานรากแบบแผ่ได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

1.3 ในกรณีที่ดินใต้ฐานรากเป็นลักษณะดินอ่อนไม่ควรใช้ฐานแต่ถ้าเปรากแผ่ ควรใช้ฐานรากที่มีเสาเข็มดีกว่าเพราะสามรถรับน้ำหนักได้ดีกว่า และลดการทรุดตัวเมื่อเวลาผ่านไป บางครั้งดินบางจุดแข็ง บางจุดอ่อน ซึ่งส่วนนี้ต้องระวังอาจเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน จะทำให้บ้านหรืออาคารพังทลายได้


2. การกำหนดความลึกของฐานราก

ความลึกของฐานรากแผ่ จะต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายและความสะดวกในการก่อสร้างเป็นหลัก 
เพราะถ้าฐานรากมีความลึกมาก ๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการขุดดินแล
ะขั้นตอนการก่อสร้างจะทำได้ลำบาก โดยประมาณความลึกของฐานรากจากผิวดินควร
น้อยกว่าหรือเท่ากับความกว้างของฐานรากนั้น ๆ อย่างไรก็ดีอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ
ดิน






3. ขั้นตอนการทำฐานรากแผ่

3.1 ขุดดินให้มีความลึก ขนาด และตำแหน่งของถูกต้องตามแบบก่อสร้างโดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร ในการขุดดินนั้นต้องเผื่อการบดอัดทรายหรือกรวด เทคอนกรีตหยาบ (lean concrete) เผื่อการเข้าแบบด้านข้าง ถ้าดินมีลักษณะอ่อนตัวเป็นดินเหลวเป็นโคลน ให้ขุดดินอ่อนออกจนหมดแล้วใช้ทรายถม หากดินไม่เหลวมากให้เทคอนกรีตหยาบเพื่อรองรับเหล็กเสริมที่จะทำฐานราก หรือออกแบบฐานรากให้สูงขึ้น ในกรณีที่ดินลื่นไถลอาจขุดดินให้มีความลาดเพื่อป้องกันดินพังทลาย หรือใช้แผ่นเหล็กหรือวัสดุอื่นที่สามารถนำมาตอกโดยรอบ เพื่อป้องกันดินพังทลายลงในขณะก่อสร้างฐานรากด้วย

3.2 ตรวจสอบความลึกหรือระดับดินก้นหลุมก่อนหนึ่งครั้ง เมื่อระดับดินขุดได้แล้วจะทำการบดอัดทรายหรือกรวด เพื่อให้ดินแน่นสามารถรับน้ำหนักได้ดีขึ้น

3.3 เมื่อบดอัดดินจนแน่นแล้วทำการตรวจสอบระดับดินที่บดอัดจนแน่นของฐานราก จากนั้นเทคอนกรีตหยาบ (lean concrete) ทับบนทรายบดอัดแน่นความหนาของคอนกรีตหยาบเป็นไปตามแบบก่อสร้าง การเทคอนกรีตหยาบก่อนวางฐานรากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะของน้ำใต้ฐานรากได้

3.4 เมื่อเทคอนกรีตหยาบเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปติดตั้งแบบหล่อฐานรากจะใช้แบบหล่อไม้ หรือแบบหล่อเหล็ก หรือก่ออิฐเป็นแบบหล่อก็ได้ รวมทั้งค้ำยันให้แข็งแรง งานฐานรากที่ก่อสร้างบนดินเหนียวลักษณะเป็นดินเลน มีปัญหาเรื่องการค้ำยันและแบบเทคอนกรีตแตกควรเทคอนกรีตหยาบรองพื้น 
ก่อนทำการค้ำยันแบบเพื่อสามารถยึดค้ำยันให้แข็งแรง

3.5 วางเหล็กเสริมฐานราก และเสาตอม่อ ในขั้นตอนนี้ต้องตรวจสอบศูนย์กลางเสาตอม่อ ขนาดและระยะงอของเหล็กเสริมต้องเป็นไปตามแบบก่อสร้างหรือมาตรฐาน ว.ส.ท. ระยะหุ้มคอนกรีตถึงผิวเหล็กอย่างน้อย 7.5 ซม.

3.6 เทคอนกรีตฐานราก ก่อนเทคอนกรีตต้องทำความสะอาด หาระดับการเทคอนกรีตโดยใช้กล้องระดับหาระดับเทียบกับระดับอ้างอิงให้ได้ความหนาของฐานรากตามที่ต้องการ
 และราดน้ำปูนในแบบหล่อก่อน จากนั้นจึงเทคอนกรีตโดยที่กำลังของคอนกรีต และค่าการยุบตัว (Slump) ได้ตามที่ระบุไว้ในแบบ และต้องมีการเก็บตัวอย่างคอนกรีตที่เทเพื่อตรวจสอบกำลังอัด

3.7 ทำให้คอนกรีตแน่นสม่ำเสมอโดยการสั่นด้วยเครื่องสั่นคอนกรีตหรือกระทุ้งด้วยมือ เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับตามแบบก่อสร้าง แต่งผิวหน้าคอนกรีตให้เรียบ เป็นการเสร็จสิ้นการเทคอนกรีตฐานราก





                 ในการสร้างฐานรากควรหลีกเลี่ยงการวางฐานรากที่ต่างระดับกันเพราะจะทำให้ดินที่อยู่ระหว่างฐานรากทั้งสองฐานรับน้ำหนักมากกว่าดินบริเวณอื่นเกิดหน่วยแรงเค้นซ้อนทับกัน (Stress Overlapping) ซึ่งจะทำให้ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องวางฐานรากในพื้นที่ที่มีความลาดเอียงระยะห่างระหว่างฐานรากควรเกินกว่า 45 องศา เพื่อป้องกันการหน่วยแรงเค้นซ้อนทับกัน ส่วนการก่อสร้างให้ก่อสร้างฐานรากที่มีความลึกที่สุดก่อนเพื่อไม่ให้ฐานรากที่ตื้นกว่าพังขณะทำฐานรากตัวที่ลึกกว่า


ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)
จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม
 สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่
 ก่อนได้รับอนุญาตจาก ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์
 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์
และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

...............................................................................................................................


ฐานรากเสาเข็มตอก : Driven Pile Foundation



.เสาเข็มตอกเป็นเสาเข็มประเภทหนึ่งที่ เรานิยม ใช้เพื่อรับน้ำหนักของอาคารบ้านเรือน เสาเข็มตอกก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ไปเมื่อเปรียบเที่ยบกับเสาเข็มชนิดอื่นๆ  แต่อย่างไรก็ตามแล้วการที่จะเลือกใช้เสาเข็มประเภทไหนนั้นเป็นหน้าที่ของวิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นคนเลือก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพดิน  สิ่งแวดล้อมรอบข้าง  เพื่อให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย และลดต้นทุนการ
ก่อสร้าง ให้มากที่สุด    ในที่นี้เรามาดูการตรวจสอบ การทำเสาเข็มตอกกันว่า มีวิธีและวิธีการอย่างไร




การตรวจสอบการตอกเข็มมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.      ผู้ควบคุมงานหรือวิศวกร ควรศึกษาแบบแปลนก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อวางแผนการตอกเสเข็มให้สามารถตอกเข็มได้อย่างต่อเนื่องและย้ายปั้นจั้นให้น้อนที่สุด
2.      ศึกษารายการคำนวนเสาเข็ม Blow cout น้ำหนักของลูกตุ้ม ขนาดของเสาเข็ม ความยาวระยะยกลูกตุ้ม ให้เข้าใจเพื่อการตรวจสอบก่อนการตอกเข็ม
3.      เตรียมสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นไฟฟ้า ,น้ำประปา เส้นทางลำเลียงเสาเข็มเป็นต้น
4.      ตรวจสอบความแข็งแรงและตำแหน่งของปั้นจั่นให้ตรงกับตำแหน่งของเสาเข็มที่จะตอก
5.      ตรวจสอบอายุของเสาเข็ม รอยแตกร้าวต่างๆของเสาเข็ม
6.      ตรวจสอบความได้ดิ่งของเสาเข็มทั้งสองด้านเมื่อเสาเข็มได้ดิ่งแล้วให้ทำเครื่องหมายในแนวราบเพื่อไว้ตรวจสอบการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มระหว่างตอก
7.      ระหว่างการตอกควรตรวจสอบดิ่งของเสาเข็มเป็นระยะๆ และระหว่างตอกควรสังเกตเชือกสลิงตอนที่ลูกตุ้มตกว่าหย่อนหรือป่าวเพื่อตรวจสอบระยะยกลูกตุ้ม
8.      ควรหยุดตอกเมื่อปลายเสาเข็มส่วนแรกอยู่จากระดับดินประมาณ 30 ซม. เพื่อเตรียมเชื่อมต่อความยาว
9.      ตรวจสอบรอยเชื่อมให้เคาะตะกรันเชื่
อมออกให้หมด หากพบว่ารอยเชื่อมยังไม่สมบูรณ์ให้ทำการเชื่อมซ้ำให้รอยเชื่อมเสมอกับผิวของเสาเข็ม  ก่อนตอกต้นที่2 ให้ยกลูกตุ้มกระแทก 2-3 ครั้งแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมอีกครั้งหากไม่มีข้อบกพร่องให้ตอกต่อไปจนถึงระยะนับ Blow Count
10.  เมื่อตอกเสาเข็มจนถึงระยะนับ Blow Count  ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใช้ในการตอกเสาเข็มที่จมไปทุกๆช่วง 30 ซม.ตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
11.  กรณีตอกเสาเข็มจนเสมอระดับดินแล้วแต่ยังไม่ผ่านการนับ Blow Count ให้ถอดหมวกครอบเข็มออกแล้วติดตั้งหัวส่งเสาเข็มเพื่อตอกเข็มต่อให้ Blow Count ตามผู้ออกแบบกำหนด
12.  ตรวจสอบ Last 10 blow เป็นการเทียบอัตราการทรุดตัวจากการตอกจำนวน10ครั้งจะกระทำซ้ำกันจำนวน 3 ครั้งตามขั้นตอนดังนี้
12.1    ในกรณีที่เสาเข็มโผล่เหนือดินการวัดระยะ 10 ครั้งสุดท้ายได้โดยตรงจากทำเส้นไว้ที่เสาเข็ม แต่ถ้าใช้หัวส่งเสาเข็มต้องใช้อุปกรณ์ช่วยวัดการทรุดตัวเช่น ท่อPVC ค้ำยันระหว่างปั้นจั่นกับพื้นดินแล้วขีดเส้นอ้างอิงก่อตอกเข็ม
12.2    ใช้ปั้นจั่นตอก 10 ครั้งแล้ววัดระยะการทรุดตัว ทำซ้ำกัน 3 รอบ การทรุดตัวที่วัดได้จะต้องไม่เกินค่าที่ผู้ออกแบบกำหนด  ถือว่าเสร็จสิ้นการตอกเสาเข็มต้นนั้น






ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์)
จัดทำบทความโดย: ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม
 สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่
 ก่อนได้รับอนุญาตจาก ทีริช กรุ๊ป ดอท คอม ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์
 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์
และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

........................................................................................